วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น อัจฉริยะ คนหนึ่งของโลก  เขามีความสามารถทั้งทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และเป็นนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก แถมยังเป็นนักคิดค้นที่ไม่ยอมหยุดนิ่ง แต่นิสัยส่วนตัวนั้น ไอน์สไตน์เป็นคนที่รักความสงบ นอบน้อมถ่อมตน
ประวัติพอสังเขปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ไอน์สไตน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ปี คศ. 1879 ที่เมืองอูล์ม ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมันนี  บิดาของไอน์สไตน์เป็นชาวยิว ไอน์สไตน์ เริ่มสนใจวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ  ขณะที่เขากำลังนอนป่วยอยู่บนเตียง บิดาได้นำเข็มทิศมาให้เล่น เขาใส่ใจและสนใจอยากรู้ว่าทำไมเข็มทิศจึงชี้ไปทางทิศเหนือ และ ตั้งแต่นั้นมาเขาเริ่มสนใจทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ หนังสือเรขาคณิตเป็นหนังสือที่เขาโปรดปรานมาก เขาศึกษาเรขาคณิตจากหนังสือของ ยูคลิด เมื่ออายุเพียง 12 ปีเขาทำความเข้าใจในเรื่องเรขาคณิตของยูคลิดเป็นอย่างดี ครั้งเมื่อเติบโตขึ้นจนอายุเข้า 16 ปี เขาก็สามารถเรียนรู้หลักการทางคณิตศาสตร์ชั้นสูงหลายอย่าง เช่น วิชาการแคลคูลัส และดิฟเฟอเรนเชียน การอินทิกรัล และกฎของ นิวตัน ตลอดจนหลักการฟิสิกส์อีกมากมาย

วันหนึ่งในวัยเรียนหนังสือเขามองดูท้องฟ้า และจินตนาการว่า  ถ้าตัวเขาวิ่งไล่ตามแสงด้วยความเร็วเท่ากับแสงแล้วอะไรจะเกิดขึ้น  เขาจะมองเห็นแสงหรือไม่ ถ้าไล่ตามแสงด้วยความเร็วเท่ากับแสง ความเร็วสัมพันธ์ของแสงจะเท่ากับศูนย์หรือไม่ ถ้าแสงหยุดชงัก มันก็จะไม่มาถึงตาเรา วัตถุทั้งหลายก็จะหายไป สิ่งนี้ทำให้เขาขบคิดอยู่ตลอดมา

ต่อมาเขาได้เข้ามหาวิทยาลัย และเลือกเรียนวิชาฟิสิกส์เป็นวิชาเอก เขาสนใจในวิชาฟิสิกส์อย่างมาก จนใน ปี คศ. 1900 เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยและได้สิทธิการเป็นพลเมืองสวิส หลังจากนั้นได้มีโอกาสทำการวิจัยที่หน่วยงาน จดทะเบียนลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์ที่เบิร์น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์จากการทำวิจัยในวัยหนุ่มของเขานี้เอง

ทำให้เขาได้พบกับทฤษฎีสำคัญยิ่งสามทฤษฎ คือ  ทฤษฎีปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริกทฤษฎีการเคลื่อนที่แบบบราวเนียนและ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ นั่นเองปี คศ. 1909 มหาวิทยาลัยชูริกได้เชิญเขาเป็นอาจารย์

และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ ไอน์สไตน์ได้ทำการสอนในอีกหลายมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยปราก มหาวิทยาลัยโปลิเทคนิคแห่งสวิส มหาวิทยาลัยเบอร์ริช และไอน์สไตน์ยังได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่ทำให้เกิดการดึงดูดที่มีต่อการเดินทางของแสง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าแสงเป็นอนุภาคซึ่งเป็นสิ่งที่โต้แย้งมานานว่า แสงเป็นอนุภาคหรือเป็นคลื่น

การสรุปครั้งนี้ทำให้ทราบว่าแสงเป็นทั้งอนุภาคและคลื่น ในปี คศ.1922 ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลในสาขาฟิสิกส์ ต่อมาในปี คศ.1933 ขณะที่เขามีอายุ 54 ปี ที่เยอร์มัน นาซีได้ยึดอำนาจการปกครอง ไอน์สไตน์จึงหลบออกจากเยอรมัน เข้าเป็นสมาชิกของศูนย์วิทยาศาสตร์ชั้นสูงของอเมริกา และใช้ชีวิตที่เหลือทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา ชีวิตในปั้นปลาย ไอน์สไตน์ได้รณรงค์ต่อต้านการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ เขาเสียชีวิตที่พรินซ์ตัน ในปี คศ. 1955 ในขณะที่มีอายุได้ 76 ปี

(ขอบคุณข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki & others.)


ประเพณีบุญเบิกน่านน้ำ

เนื่องจากจังหวัดมุกดาหารตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง จึงมีประเพณีการแข่งขันเรือพายขึ้น ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า งานออกพรรษา ประเพณีการแข่งเรือถือว่าเป็นการบูชาพญานาค ๗ ตระกูล และเชื่อมความสัมพันธไมตรีระหว่างชาวมุกดาหารกับชาวสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

พิธีกรรม
ก่อนจะมีการแข่งขันเรือ จะต้องทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลเจ้าฟ้ามุงเมือง และศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง โดยจะมีขบวนแห่จากชาวคุ้มวัดต่าง ๆ เพื่ออัญเชิญเจ้าฟ้ามุงเมืองลงเรือลำแรก (ชื่อเรือมุกดาสวรรค์) โดยเจ้าฟ้ามุงเมืองในร่างของจ้ำหรือคนทรงจะประทับนั่งที่หัวเรือ เพื่อเป็นการเบิกน่านน้ำ ให้การแข่งขันเรือพายในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดผลดี เป็นสิริมงคล เกิดความสนุกสนานแก่ปวงชนปราศจากอุปสรรคทั้งปวง ต่อจากเรือมุกดาสวรรค์จะเป็นขบวนเรือประเพณี ประกอบด้วยฝีพายที่เป็นหญิง แต่งกายสีสันตามแบบพื้นเมือง หัวเรือ ๒ คน และท้ายเรือ ๓ คน จะเป็นชาย หลังจากล่องเรือแข่งกันแล้วจะเริ่มพายทวนน้ำจากหน้าวัดศรีบุญเรืองไปสิ้นสุดที่หน้าวัดศรีมงคลใต้ ระหว่างทางจะหยุดรับเครื่องสักการะจากชาวบ้าน มีเหล้า ดอกไม้ ธูป เทียน และดอกดาวเรือง ส่วนเรือประเพณีที่ตามหลังจะมีสาวงาม ๑ คน ฟ้อนหางนกยูงอย่างสวยงามที่หัวเรือ พร้อมกับฝีพายจะร้องเล่น เซิ้งและผญาอย่างสนุกสนาน

สิ่งที่ได้จากการจัดประเพณีบุญเบิกน่านน้ำ

ประเพณีบุญเบิกน่านน้ำเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี ระหว่างพี่น้องสองฝั่งโขงไทย-ลาว โดยเฉพาะความสามัคคีที่ทุกทนต้องร่วมมือกันทั้งของชาวจังหวัดมุกดาหารและชาวสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ที่มา http://www.learners.in.th/blog/culturetoyou/479302